วันอังคารที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2555

อิทธิพลของศิลปวัฒนธรรมตะวันตกในไทย

 อิทธิพลของศิลปวัฒนธรรมตะวันตกในไทย
                            จากการมองย้อนหลังศิลปในประเทศไทย แสดงให้เราเห็นว่า แบบอย่างของศิลปตามประเพณีที่กระทำจำเจกันมานับเป็นร้อยๆ ปี จนถึงปลายศตวรรษที่แล้วนั้นได้ตกอยู่ในสภาวะที่จืดชืด และซ้ำซาก งานศิลปแบบนี้อาจยังคงมีค่าอยู่ได้ สำหรับผู้ที่ขาดความเชี่ยวชาญ และผู้ที่นิยมของต่างประเทศเท่านั้นเอง
ตามปกตินั้น ถ้าไม่มีสิ่งใดมาสกัดกั้นชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนตามธรรมดาแล้ว งานศิลปะซึ่งกำลังเสื่อมคุณค่านั้น ก็เป็นที่ยอมรับกันว่าเป็นศิลปที่แสดงออก ซึ่งความรู้สึกทางประเพณี และฉะนั้นเอง ก็อาจกระทำกันไปอีกหลายสิบปีทีเดียว แต่ครั้นเมื่อมีเหตุการณ์สำคัญลางประการ มาเปลี่ยนสภาวะเดิมแห่งวัฒนธรรมขึ้น ส่วนหนึ่งของชนชั้นปัญญา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ได้แก่อนุชนรุ่นต่อไป ก็จะสำแดงปฏิกิริยาอย่างแข็งขัน
                           นี้เป็นสิ่งซึ่งได้เกิดขึ้นแก่เมืองไทย และประเทศต่างๆ ในตะวันออก ซึ่งรับวัฒนธรรมตะวันตก คือ ระบบเศรษฐกิจ และการเพิ่มพูนความรู้ทางวิทยาศาสตร์ อารยธรรมแผนใหม่นั้นกระทบกระเทือนศิลปแบบประเพณียิ่งนัก
                         โดยทั่วไป เราอาจากล่าวได้ว่าเท่าที่เศรษฐกิจของรัฐเป็นอยู่ในสมัยโบราณ มิได้มีการจับจ่ายใช้เงินที่จำเป็น หรือฟุ่มเฟือยอย่างสมัยเรา รายได้ส่วนใหญ่ของรัฐ ได้ถูกนำไปใช้สร้างวัดวาอาราม เพราะเป็นการสร้างกุศลผลบุญอย่างสูงสุดของชาวพุทธ ที่จะพึงกระทำได้ในชั่วชีวิตของตน ฉะนั้นเอง สิ่งก่อสร้างทางศาสนาจึงอุบัติโดยไม่หยุดยั้ง ซึ่งอำนวยให้ศิลปินไทย ทำงานศิลปทุกสาขาได้อย่างดี (เห็นควรกล่าวได้ ณ ที่นี้ด้วยว่า ในสมัยโบราณ ประเทศไทยนั้น ไม่มีประจักษ์การแสดงออกทางศิลปอย่างอื่น นอกจากเพื่อความมุ่งหมายทางศาสนา)
                          ในตอนปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๕ ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัว (พ.ศ. ๒๔๑๑ - ๒๔๕๓) ประเทศไทยได้นำเอาอารยธรรมตะวันตกเข้ามาพัฒนาประเทศหลายประการ คือ การสร้างทางรถไฟ ถนนหนทาง โรงพยาบาล โรงเรียน การประปา การไฟฟ้า ฯลฯ เพราะว่ารายได้ของประเทศได้นำไปใช้เกี่ยวสาธารณะประโยชน์ของประชาชนเป็นสำคัญ การสร้างวัดวาอารามจึงสดุดหยุดลง เป็นเหตุให้ศิลปตามประเพณีมิได้เป็นไปอย่างปกติเช่นสมัยก่อน
                        การนำอารยธรรมตะวันตกเข้ามาใช้ ย่อมหมายถึงการนำเอาคุณสมบัติพิเศษทางศิลปของตะวันตกเข้ามาด้วยหลายสถาน งานประติมากรรมและจิตรกรรมตามแบบจริงกึ่งพานิช ศิลปก็ได้สั่งเข้ามาในประเทศไทย รวมทั้งสิ่งอื่นๆ เพื่อความหรูหราในหมู่ชนชั้นสูง ก่อให้เกิดรสนิยมใหม่ในศิลปขึ้น ศิลปินและสถาปนิกชาวต่างประเทศได้ถูกสั่งเข้ามาทำงาน และนี่เองเป็นสิ่งกำหนดชะตากรรมของศิลป ตามแบบประเพณี ดังที่ได้กล่าวไว้แล้วว่าเป็นศิลปในยุคเสื่อม
ระหว่างสามสิบปีที่ผ่านมาในศตวรรษนี้ ประเทศไทย ซึ้งถึงคุณค่าทางวัฒนธรรมที่ได้รับความกระทบกระเทือนจากตะวันตก ความกระทบกระเทือนที่เรียกว่า ความเจริญเติบโตอันเป็นผลร้ายแก่วัฒนธรรมของเราหลายกรณีด้วยกัน
ด้วยการศึกษาที่คนไทยหนุ่มๆ ทั้งในประเทศและในยุโรป     ทำให้สภาวะจิตที่ซบเซาก้าวไปสู่ความรู้สึกนึกคิดอันสถิตสถาพร

        ศิลปวัฒนธรรมตะวันตกในไทย




พระที่นั่งอนันตสมาคม






พระประโทนเจดีย์





พระรามราชนิเวศน์





พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท






























ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น